การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ตลาด
สภาวะตลาด
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ ที่แหล่งเงินทุนต่างๆ เข้าไม่ถึง และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ยังขาดมาตรฐาน และความรู้ที่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ขาดความพร้อม ทั้งด้านความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ การตลาด การจัดการ การบริหาร จึงไม่เคยคิดที่จะส่งสินค้าขนมไทยของตน ส่งออกขายไปยังต่างประเทศ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลเกินตัว รัฐจึงควรเข้ามาให้การสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณและด้านความรู้เหล่านี้อย่างเต็มที่ และต่อเนื่องจริงจัง โดยการจัดสร้างศูนย์ให้คำสนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบวัดมาตรฐาน ให้ความรู้และควบคุมดูแล ผู้ประกอบการขนมไทยรายเล็กๆ เหล่านี้ เพื่อให้เกิดการขยายการส่งออกขนมไทยให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนมไทย ให้สามารถตระหง่านอยู่ในวงการ การแข่งขัน ขนมประจำชาติของชาติต่างๆ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง (Strength)
1. ผู้ประกอบการแต่ละรายมีวิธีการผลิต การรักษาคุณภาพ การจัดจำหน่ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
2. มีความรู้ความสามารถในการทำขนมไทยได้อย่างชำนาญ
3. ขนมไทยมีสีสันที่สวยงามและมีความประณีตไม่เหมือนกับขนมชาติอื่นๆ
4. มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
5. มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
6. ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง
จุดอ่อน(Weakness)
1. ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม่มีความรู้ทางด้านการส่งออกโดยพบว่าประมาณร้อยละ 81.5 ยังไม่เคยส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการส่งออก
2. วัตถุดิบบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น ใบเตย ใบตอง เป็นต้น
3. ขนมไทยบางชนิดเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน
การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายนอก
โอกาส (Opportunost)
1. การจัดทำการประชาสัมพันธ์โดยผ่านการโฆษณาไปยังประเทศต่างๆ
2. การจัดแสดงขนมไทยในงานนิทรรศการอาหารนานาชาติ
3. คิดค้นรูปแบบขนมไทยให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยมากขึ้นเพื่อให้ต้องต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันแต่ก็คงความเป็นไทยอยู่
4. คิดค้นบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและให้เหมาะกับเทศกาลต่างๆเพื่อดึงดูลูกค้าทุกเพศทุกวัย
5. สร้างแบรนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในตลาดต่างประเทศ
อุปสรรค (Threats)
1. มูลค่าการส่งออกขนมไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นเช่นพวกเครื่องแกงเป็นต้น
2. ผลิตภัณฑ์ขนมไทยที่ส่งออกไปบางชนิดยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมหรือที่รู้จักมากนักสำหรับตลาดต่างประเทศ
3. สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียงพอ
4. มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
5. ทางภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่ค่อยเข้ามาให้ความร่วมมือมากสักเท่าไหร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น