วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

         



          ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง


วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย


http://www.wangkanai.co.th/image.php?id=10&Image=1
" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลาย
ท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมา
ว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุด
ในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้
มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก

สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
 "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็
ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน

อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม"
ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้ง
ทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม"
ในภาษาเขมรก็เป็นได้

ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็น
ชีวิตจิตใจ

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัย
เรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้

ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ
 บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ
 และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น
 คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด
ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า
การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาว
โปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือ
ของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดง
มาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็น
ที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง
 ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ

ล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่าในงานสมโภช
พระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับ
พระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ
 ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล

ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ
 ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร
 ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่
 การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรม
ขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง
แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์
ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย
 ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว
 ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ
 ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

ชนิดของขนมไทย

       ขนม หวานไทย จะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยเป็นเรื่องที่ ต้องศึกษาและฝึกฝน  ต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์และความอดทน และความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ ๆ ต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน มีความประณีต ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธีการทำ
            ขนมไทย สามารถจัดแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ตามลักษณะของเครื่องปรุง ลักษณะกรรมวิธีในการทำ  และลักษณะการหุงต้ม คือ
    
    1. ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ
 
    2. ประเภทนึ่ง
เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ

    3. ขนมประเภทต้ม เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ

    4. ขนมประเภทกวน เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ

    5. ขนมประเภทอบและผิง เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมบ้าบิ้น ขนมหน้านวล ฯลฯ

    6. ขนมประเภททอด เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ

    7. ขนมประเภทปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ

    8. ขนมประเภทเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ

    9. ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ

    10. ขนมประเภทน้ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ

    11. ขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ

    12. ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ
 

    13. ขนมประเภทแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะเขือเทศแช่อิ่ม สะอนแช่อิ่ม ฯลฯ

ประโยชน์ของขนมไทย


        
                   
 
           ใยอาหาร" หรือ "Fiber" เป็นอาหารอีกหมู่หนึ่งที่ร่างกายมีความต้องการไม่น้อยไป กว่าอาหารหลักหมู่อื่น ใยอาหารนี้แท้ที่จริงแล้วคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ใช่แป้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ พืช ผัก และผลไม้ที่รับประทานได้ แต่ไม่ถูกย่อยโดยน้ำย่อยในระบบย่อยอาหาร เมื่อผ่านลำไส้ใหญ่บางส่วนจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ ทำให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไฮโดรเจน น้ำ และกรดไขมันสายสั้นๆ ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ด้วยเหตุนี้ ใยอาหารจึงมีผลช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งที่อาจปะปนมากับอาหาร ซึ่งร่างกายสามารถขับถ่ายมาพร้อมกับอุจจาระ ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้และเพื่อสุขภาพที่ดีเรา ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยอาหารในปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน ซึ่งในขนมไทยต่างมีใยอาหารประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น
    กาก ใยอาหารในผักและผลไม้ที่นำมาใช้ทำขนม อย่างเช่น กล้วยบวดชี บวดเผือก บวดฟักทอง ยังคงสภาพอยู่กากใยเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการขับถ่ายของร่างกายทีเดียว ในขณะที่ ขนมพันธุ์ใหม่ที่ในยุคนี้จะเป็นขนมที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหลายขั้นตอน มาก แป้งที่ใช้ทำขนมก็จะถูกฟอกขาว มีสารเคมีสังเคราะห์มากมายเข้าไปเป็นส่วนผสมทั้งในแป้งและน้ำตาล ซึ่งจะย่อยสลายทันทีในปาก เกิดกรดทำให้ฟันผุได้ทันที และความที่อาหารมีกากใยน้อยลง โรคที่ตามมาอีก คือ อาการท้องผูก ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาของเด็กอย่างยิ่ง บางบ้านถึงกับทะเลาะกันระหว่างแม่กับพ่อเรื่องการถ่ายของลูก
เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ
- เบต้าแคโรทีน (beta-Carotene) เป็นองค์ประกอบของสารสีส้มแดง สีเหลืองในพืช ผัก ผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามินเอ เพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งวิตามินเอนี้เป็นวิตามินชนิดไม่ละลายน้ำ มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การเจริญเติบโต เป็นสารต้านอนุมูลอิสระของไขมันบนผนังเซลล์ ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดี
- แคลเซียม เป็นธาตุอาหารที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน ช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อและการเต้นของหัวใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์
ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุภาพ
 
                         

    ขนมไทย มีรากเหง้ามาจากสังคมเกษตรผูกพันกับธรรมชาติ วัตถุดิบที่นำมาทำเป็นขนมก็ล้วนมาจากธรรมชาติ ดังนั้นคุณสมบัติหลายประการของผลผลิตตามธรรมชาติก็จะยังคงมีอยู่มาก จากการสำรวจคุณค่าทางโภชนาการขนมไทย ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่าขนมไทยส่วนใหญ่ นอกจากจะมีคุณค่าในสารอาหารหลักๆ อย่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันแล้วยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายรวมอีกด้วย อาทิเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เรตินอล แคโรทีน เป็นต้น ซึ่งคุณค่าอาหารรวมหมู่แบบนี้จะหาไม่ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะเป็นการสกัดสารอย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุในแคปซูลเพื่อขายในราคาแพงๆ เท่านั้น และในขนมถุงสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็ยังหาทำยาได้อยากเช่นกัน
    นอก จากนี้ ด้วยความที่ขนมไทยยังไม่ได้ถูกครอบงำจากระบบอุตสาหกรรมข้ามชาติ ทำให้ขนมไทยมีความปลอดภัย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความปลอดภัยจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม หน้าแรก ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุขภาพ ประโยชน์จากขนมไทยการเลือกรับประทานขนมไทย การกินแบบไทยๆ ขนมไทยในเทศกาลงานบุญ ขนมไทยในงานมงคล ขนมไทยแด่ผู้ยากไร้ ขนมไทยที่ใช้เป็นของขวัญ หรือ จีเอ็มโอ เพราะจากการตรวจสอบของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกรีนพีช พบว่า มีขนมกรุบกรอบหรือขนมถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดบางยี่ห้อมีการใช้วัตถุดิบที่ ปนเปื้อนจีเอ็มโอ แม้จะยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่มีบทสรุปมาจนถึงทุกวันนี้ว่า คนที่กินอาหารจีเอ็มโอหรือมีส่วนผสมของอาหารจีเอ็มโอเข้าไปจะมีผลกระทบต่อ สุขภาพร่างกายหรือไม่อย่างไร แต่เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภคก็ไม่ควรที่จะเสี่ยง

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขนมไทยเสริมราศี



นับว่าขนม 12 ราศีนี้เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่เชื่อเรื่องดวงเรื่องราศีอีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากจะได้ความอร่อยจากรสชาติของขนมแล้ว ยังได้ความสบายใจกลับไปเต็มอิ่มกันอีกด้วย

ราศีมังกร เกิดระหว่าง 15 ม.ค.-14 ก.พ.
ขนมสวยหลากสีสร้างสรรค์ให้ชีวิตแปลกใหม่ เป็นคนธาตุดินต้องเสริมความตื่นเต้นแปลกใหม่กับชีวิตด้วยขนมชั้นสีสวยๆ เยลลี่ลายหวานๆ หรือลูกชุปช่วยเสริมสง่าราศีให้โดนเด่นดีที่สุด เครื่องดื่มที่เหมาะคือ น้ำหวานสีต่างๆ

ราศีกุมภ์ เกิดระหว่าง 15 ก.พ.-14 มี.ค.
โดดเด่นเป็นที่สนใจด้วยขนมหายาก เป็นคนธาตุลม ชอบขนมเบเกอรี่ ขนมเค้ก แต่มีขนมไทยหลายประเภทที่ช่วยเสริมดวงชะตา อาทิ สัมปันนี ฝอยทอง เครื่องดื่มที่เหมาะคือ น้ำส้ม น้ำเสาวรส น้ำแอปเปิ้ล

ราศีมีน เกิดระหว่าง 15 มี.ค.-14 เม.ย.
โชคดีทุกการเดินทางด้วยขนมพื้นบ้านหลากแบบ เป็นคนธาตุไฟที่ไม่ค่อยใจร้อนเท่าไหร่ ขนมพื้นบ้านจะช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีเรื่องการเดินทาง อาทิ ข้าวเม่า ข้าวตอก ข้าวตัง เล็บมือนาง เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นประเภทน้ำผักผลไม้
 

ราศีเมษ เกิดระหว่าง 15 เม.ย.-14 พ.ค.
ลดอารมณ์ร้อนๆ ด้วยขนมเย็น เป็นคนธาตุไฟ มีนิสัยใจร้อนหงุดหงิดง่าย ควรแก้เคล็ดด้วยขนมประเภทเย็นๆ อาทิ ขนมลอดช่อง กระท้อนลอยแก้ว จะช่วยให้อารมณ์เย็นมีชีวิตชีวา สิ่งที่ติดขัดหรือมีปัญหาจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำผลไม้ปั่น อาทิ น้ำสับปะรด น้ำกระเจี้ยบ
ราศีพฤษภ เกิดระหว่าง 15 พ.ค.-14 มิ.ย.
เสริมความก้าวหน้าด้วยขนมเนื้อแน่น เป็นคนธาตุดิน หนักแน่น มั่นคงมีความรักชอบในศิลปะแบบโบราณ ขนมที่ช่วยเสริมราศี อาทิ ตะโก้ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมหม้อแกง ขนมถ้วย เครื่องดื่มที่เหมาะควรเป็นน้ำมะตูม น้ำตะไคร้ เก็กฮวย
 
ราศีเมถุน เกิดระหว่าง 15 มิ.ย.-14 ก.ค.
ขนมหายากสร้างเสน่ห์ให้เป็นที่รัก เป็นคนธาตุลม จิตใจแปรปรวน ขนมที่เสริมดวงชะตาให้เป็นที่รักของผู้อื่นอาทิ ขนมหน้านวล เครื่องดื่มเป็นน้ำผลไม้เช่นไวน์ พันซ์
ราศีกรกฎ เกิดระหว่าง 15 ก.ค.-14 ส.ค.
ชีวิตมีสีสันด้วยขนมรสชาติหวานมัน เป็นคนธาตุน้ำ ใจเย็นเพราะใจดีมีความนุ่มนวล ขนมที่เสริมดวงชะตาสง่าราศี อาทิ ข้าวเหนียวสังขยา สังขยาฟักทอง ขนมประเภทแกงบวช เครื่องดื่มที่เหมาะคือประเภทน้ำหวาน ชา หรือกาแฟทั้งร้อนและเย็น
ราศีสิงห์ เกิดระหว่าง 15 ส.ค.-14 ก.ย.
เสริมความหรูหราด้วยขนมชื่อสิริมงคล เป็นคนธาตุไฟที่ค่อนข้างเอาแต่ใจ ขนมที่มีสีแดง ส้ม ทอง อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง จ่ามงกุฏ ข้าวเหนียวแดงจะช่วยเสริม ความสง่างามและเสน่ห์ให้ตนเอง เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำสมุนไพร พวกน้ำจับเลี้ยง ชา ดอกคำฝอย
 
ราศีกันย์ เกิดระหว่าง 15 ก.ย.-14 ต.ค.
คนรอบข้างรักใคร่เมตตาด้วยขนมสีขาว เป็นคนธาตุดินที่ค่อนข้างใจเย็น ขนมที่คู่บารมีกับชาวกันย์ ต้องมีสีขาวหรือสีนวลเมตตา ขนมผิง ขนมหน้านวล หรือวุ้นกระทิ จะช่วยให้คนรอบข้างรักใคร่ เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นพวกน้ำสมุนไพร รังนก หรือโสม
ราศีตุลย์ เกิดระหว่าง 15 ต.ค.-14 พ.ย.
ขนมหลากสีสัน ผลักดันให้งานก้าวหน้า เป็นคนธาตุลม ที่ไม่ค่อยยินดียินร้ายกับอะไรทั้งสิ้น ขนมที่เสริมบารมีกับหน้าที่การงานต้องมีสีสันสดใส เช่น ขนมสัมปันนี ช่อม่วง วุ้นกรอบ ข้าวเม่า เครื่องดื่มที่เหมาะควรเป็นน้ำผลไม้และนม

ราศีพิจิก เกิดระหว่าง 15 พ.ย.-14 ธ.ค.
ขนมผสมกระทิเนรมิตความร่ำรวย เป็นคนธาตุน้ำ มีความเป็นตัวของตัวเองสู้งานหนักสุขุม เหมาะกับขนมหวานประเภทแกงบวช ครองแครง ปลากริมไข่เต่า บัวลอย จะช่วยเสริมความร่ำรวย เครื่องดื่มที่เหมาะต้องมีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว
 
ราศีธนู เกิดระหว่าง 15 ธ.ค.-14 ม.ค.
ขนมมงคลพิธี ช่วยให้มีแต่คนเมตตา เป็นคนธาตุไฟ เหมาะที่สุดกับขนมที่มีชื่อเป็นมงคลจะเสริมให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่รักใคร่ของคนรอบข้างเช่นขนมทองเอก โพรงแสม รังนก เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำมะพร้าว น้ำตาลสด ชา กาแฟ

ขนมไทยในแต่ละภาค




ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด

ขนมไทยภาคกลาง
ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเยี่ยวเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
 
ขนมไทยภาคอีสาน
เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่น ขนมพื้นบ้านอีสานได้แก่ ข้าวจี่ บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าว ข้าวโป่ง นอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธี ที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน โดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตอง มัดด้วยตอกแบบข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเลยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขามจะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วยน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียว ใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพองทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยมทำขนมปาด (คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง) ลอดช่อง และขนมหมก (แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)
 
ขนมไทยภาคใต้
ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารท เดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น
ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่
- ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วย กะทิผสมไข่ น้ำตาล เกลือ ตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง
- ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ทำจากมันสำปะหลังนำไปต้มให้สุก โรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน
- ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อม แล้วเอาไปทอด มีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน
- ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น
- ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาล นึ่งให้สุก คลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับน้ำตาลทราย
- ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาด โรยต้นหอม ตัดเป็นชิ้นๆ โรยหน้าด้วย มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย
- ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยครกไม้จนเป็นแป้ง รีดให้แบน ตากแดดจนแห้ง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม
- ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุก ตำผสมกับงาและน้ำตาลทราย
- ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลางแต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย
- ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียวคั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้ให้เข้ากันดี แล้วปั้นเป็นก้อน
- ขนมดาดา เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม ใช้ในโอกาสเดียวกับฆานม ประกอบด้วยข้าวเจ้า ข้าวเหนียวผสมน้ำบดให้ละเอียด นำไปละเลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ พับให้เป็นแผ่น กินกับน้ำตาลเหลว
- ขนมกรุบ นิยมทำกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำอุ่น นำไปรีดให้แผ่บางบนใบตอง นำไปนึ่งแล้วตากแดดให้แห้ง แล้วทอดให้กรอบคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวเป็นยางมะตูม
- ขนมก้องถึ่ง ทำจากถั่วลิสงคั่ว คลุกกับน้ำตาลร้อนๆ แล้วใช้ไม้ทุบให้ละเอียดจนเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้น

การวิเคราะห์ตลาด


การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการวิเคราะห์ตลาด
สภาวะตลาด  
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ ที่แหล่งเงินทุนต่างๆ เข้าไม่ถึง และไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ยังขาดมาตรฐาน และความรู้ที่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ ขาดความพร้อม ทั้งด้านความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ การตลาด การจัดการ การบริหาร จึงไม่เคยคิดที่จะส่งสินค้าขนมไทยของตน ส่งออกขายไปยังต่างประเทศ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลเกินตัว รัฐจึงควรเข้ามาให้การสนับสนุนทั้งในด้านงบประมาณและด้านความรู้เหล่านี้อย่างเต็มที่ และต่อเนื่องจริงจัง โดยการจัดสร้างศูนย์ให้คำสนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบวัดมาตรฐาน ให้ความรู้และควบคุมดูแล ผู้ประกอบการขนมไทยรายเล็กๆ เหล่านี้ เพื่อให้เกิดการขยายการส่งออกขนมไทยให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนมไทย ให้สามารถตระหง่านอยู่ในวงการ การแข่งขัน ขนมประจำชาติของชาติต่างๆ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป



การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายใน

 จุดแข็ง (Strength)
1.   ผู้ประกอบการแต่ละรายมีวิธีการผลิต การรักษาคุณภาพ การจัดจำหน่ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
2.  มีความรู้ความสามารถในการทำขนมไทยได้อย่างชำนาญ
3.  ขนมไทยมีสีสันที่สวยงามและมีความประณีตไม่เหมือนกับขนมชาติอื่นๆ
4.  มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
5.  มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
6.  ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง


 จุดอ่อน(Weakness)
  
1.  ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม่มีความรู้ทางด้านการส่งออกโดยพบว่าประมาณร้อยละ 81.5 ยังไม่เคยส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการส่งออก
2.  วัตถุดิบบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น ใบเตย ใบตอง เป็นต้น
3.  ขนมไทยบางชนิดเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน


การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยภายนอก

โอกาส (Opportunost)
1.  การจัดทำการประชาสัมพันธ์โดยผ่านการโฆษณาไปยังประเทศต่างๆ
2.  การจัดแสดงขนมไทยในงานนิทรรศการอาหารนานาชาติ
3.  คิดค้นรูปแบบขนมไทยให้มีความแปลกใหม่และทันสมัยมากขึ้นเพื่อให้ต้องต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันแต่ก็คงความเป็นไทยอยู่
4.  คิดค้นบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและให้เหมาะกับเทศกาลต่างๆเพื่อดึงดูลูกค้าทุกเพศทุกวัย
5.  สร้างแบรนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในตลาดต่างประเทศ
อุปสรรค (Threats)

1.  มูลค่าการส่งออกขนมไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นเช่นพวกเครื่องแกงเป็นต้น
2.  ผลิตภัณฑ์ขนมไทยที่ส่งออกไปบางชนิดยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมหรือที่รู้จักมากนักสำหรับตลาดต่างประเทศ
3.  สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียงพอ
4.  มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
5.  ทางภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่ค่อยเข้ามาให้ความร่วมมือมากสักเท่าไหร่

ผู้ประกอบการขนมไทยสู่ครัวโลก


ผู้ประกอบการขนมไทยสู่ครัวโลก
สำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายขนมไทยเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศนั้นได้เริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยผู้ประกอบการแต่ละรายมีวิธีการผลิต การรักษาคุณภาพ การจัดจำหน่ายสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็น
h บ้านขนมไทยนพวรรณ
h ร้านขนมไทยเก้าพี่น้อง
h ขนมแม่เอย-เปี๊ยะแอนด์พาย(2003)

นอกจากร้านที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีผู้ผลิตอีกหลายแห่งที่ผลิตขนมไทยเพื่อการส่งออก ซึ่งในการขยายตลาดต่างประเทศสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าได้หลายเท่าตัว อย่างไรก็ตามมูลค่าของการส่งออกที่ปรากฏเป็นตัวเลขที่ชัดเจนในหมวดหมู่ของขนมไทยจากข้อมูลของกรมศุลกากรและกรมส่งเสริมการส่งออกยังไม่ชัดเจนนัก อาจเป็นไปได้ว่ามูลค่าของการส่งออกยังน้อยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลควรมีการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจและมีการจัดตั้งหน่วยงาน Clustermapping โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาโดยร่วมมือกับร้านค้าหรือชุมชนต่างๆ เพื่อพัฒนาขนมไทยให้แข่งขันได้ โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพสินค้า มีการเก็บรักษาที่ดี บรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม นอกจากนี้แล้วควรมีการจัดทำการประชาสัมพันธ์โดยผ่านการโฆษณาและมีการจัดแสดงขนมไทยในงานนิทรรศการอาหารนานาชาติเพื่อให้สินค้าไทยได้รับการยอมรับจากต่างชาติและเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้แก่ประเทศได้

ขนมไทยกับความต้องการจากนานาชาติ

ขนมไทยกับความต้องการจากนานาชาติ
ขนมไทยเป็นที่ชื่นชอบจากนานาชาติโดยประเทศไทยได้มีการส่งออกขนมไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสิงคโปร์มาเลเซียหรือเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีการทานขนมจากแป้งเหมือนประเทศไทย โดยประเทศเหล่านี้จะชอบทานขนมจำพวกขนมเหนียว ถั่วแปบ ฝอยทองกรอบส่วนประเทศทางยุโรป เช่น อิตาลี ซึ่งชอบทานของหวานอย่างเช่นไอศกรีมหรือช็อกโกแลตก็ปรากฏว่าขนมอย่างวุ้นกะทิ ขนมผิง ลูกชุบ หรือขนมอย่างอาลัวที่ได้ดัดแปลงโดยใช้ช็อกโกแลต คัสตาร์ดและนมเป็นส่วนผสมเป็นที่นิยมมาก สำหรับทางฝั่งสหรัฐอเมริกาเองยอดการส่งออกขนมไทยก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีคนเอเชียเข้าไปอยู่อาศัยจำนวนมาก โดยคิดเป็นสัดส่วน 4.2% ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ11.9ล้านคน โดยเฉพาะแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์กและฮาวาย


                                                                       

                สำหรับสินค้า OTOP ของไทยในส่วนของขนมหวานก็เป็นที่น่าจับตามอง ทั้งนี้ เนื่องมาจากว่าจากการจัดอันดับผู้ค้าผลิตภัณฑ์ขนมไทย OTOPในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวันและสิงคโปร์พบว่าประเทศไทยได้รับความนิยมอยู่ในอันดับที่ 3โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เช่น ข้าวแต๋น และขนมทองม้วนแต่อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกขนมไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่น เช่นพวกเครื่องแกง เป็นต้น โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 6.0 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้เป็นได้ว่าสาเหตุหลักมาจากผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม่มีความรู้ทางด้านการส่งออกโดยพบว่าประมาณร้อยละ 81.5 ยังไม่เคยส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบมาตรฐานเพื่อการส่งออก

ขนมไทย กลายเป็นสินค้าเศรษฐกิจ


"ขนมไทย กลายเป็นสินค้าเศรษฐกิจ"

          ขนมไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานเท่าที่มีการบันทึกก็เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนและอินเดีย เมื่อมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างชาติทั้งทางตะวันตกและตะวันออก ประเทศไทยก็ได้รับวัฒนธรรมทางอาหารการกินมาจากต่างชาติด้วย